พระราหู กะลาแกะ หลวงพ่อปิ่น วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม (กะลาเผือก แกะศิลป์ครู) ดีกรีโบว์แดง งานประกวดพระเครื่องพระบูชา
|
||||||||||||||||
|
||||||||||||||||
ส่งข้อความ
|
||||||||||||||||
ชื่อร้านค้า
|
ศูนย์พระเครื่องเสือรากไทร | |||||||||||||||
โดย
|
เสือรากไทร | |||||||||||||||
ประเภทพระเครื่อง
|
พระติดรางวัล | |||||||||||||||
ชื่อพระ
|
พระราหู กะลาแกะ หลวงพ่อปิ่น วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม (กะลาเผือก แกะศิลป์ครู) ดีกรีโบว์แดง งานประกวดพระเครื่องพระบูชา |
|||||||||||||||
รายละเอียด
|
พระราหู กะลาแกะ หลวงพ่อปิ่น วัดศรีษะทอง จ.นครปฐม (กะลาเผือก แกะศิลป์ครู) ดีกรีโบว์แดง งานประกวดพระเครื่องพระบูชา พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว หลวงพ่อปิ่น(ลูกศิษย์หลวงพ่อน้อย) วัดศีรษะทอง พุทธคุณพระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว เชื่อกันว่า ช่วยป้องกันภัยต่างๆ เมื่อยามดวงชะตาตก กะลาพระราหู หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทองจะช่วยแก้ ช่วยพยุงให้ดวงชะตาดีขึ้นดังเดิม พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว แบบที่เป็นมาตรฐาน หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง วัดศีรษะทอง ตั้งอยู่ที่ ต.ห้วยตะโก อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม สร้างจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจาก เวียงจันทน์ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ขณะที่มีการขุดดินสำหรับสร้างวัด ได้พบเศียรพระทองจมอยู่ในดิน จึงถือเป็นนิมิตที่ดีเลยตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดหัวทอง” ตั้งแต่นั้นมาเจ้าอาวาสองค์แรกคือ หลวงพ่อไต เป็นชาวลาวที่มาจากเวียงจันทน์ จากวัดเล็กๆ กลายมาเป็นวัดใหญ่ จนมาถึงสมัยหลวงพ่อน้อย คันธโชโต นาสกุลเดิม คือ นาวารัตน์ ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่วัดและหมู่บ้านเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันท่านก็นำพระเกจิดังเจ้าตำรับพระราหูอมจันทร์ เครื่องรางที่ให้คุณในด้านโชคลาภ การพ้นจากเคราะห์ต่างๆ และเสริมดวงชะตา ชาวลาวตำบลศีรษะทองได้แกะพระราหู จากกะลาตาเดียวกันมาตั้งแต่ครั้ง อพยพแล้ว เมื่อชาวบ้านสร้างวัดจนสำเร็จ ชาวบ้านทั้งหมดจึงพร้อมใจกันนิมนต์หลวงพ่อไตร ซึ่งเป็นชาวลาวที่อพยพมาด้วยกัน ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดเป็นรูปแรก ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาคาถาอาคม และการทำเครื่องรางของขลังได้แก่กล้ามาก โดยเฉพาะการสร้างราหูอมจันทร์ แกะจากกะลามะพร้าวที่มีตาเดียว พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียวกรรมวิธีการแกะเป็นตำราที่ท่านนำมาจากเวียงจันทน์สมัยอพยพ จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้บูชา หรืออาราธนาพกติดตัวตามความเชื่อทางศาสนาและไสยศาสตร์ การแกะพระราหู จากกะลาเป็น จุดเริ่มต้น ของงานศิลปะพื้นบ้าน โดยการฝึกฝนการแกะกันในหมู่บ้าน พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียวมีการพัฒนารูปแบบให้สวยงาม สุดแล้วแต่ความสามารถของช่างแต่ละคน จะออกแบบลวดลาย การแกะจึงมักไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน ต่อมาศิลปะวิชาการแกะกะลาพระราหู นี้ได้ตกทอดสืบต่อกัน โดยเฉพาะเจ้าอาวาสวัดศีรษะทอง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือมนต์พิธีต่างๆ อันดับเจ้าอาวาสต่อเนื่องกันมา หลังจากหลวงพ่อไตร วัดศีรษะทองเป็นเจ้าอาวาส คือ ๑.หลวงพ่อตัน ท่านเป็นหลานหลวงพ่อไตร ท่านได้สร้างราหูอมจันทร์เช่นกัน แต่ไม่มากนัก และมีรูปแบบที่ไม่ได้มาตรฐาน ๒.หลวงพ่อลี ท่านเป็นชาวลาวเช่นกัน ท่านสร้างราหูอมจันทร์ เช่นกัน แต่ไม่มากนัก รูปแบบก็ไม่เป็นมาตรฐานเช่นกัน ๓.หลวงพ่อทอง ท่านเป็นชาวไทย ท่านไม่ได้รับการถ่ายทอด และครอบครู จึงไม่ได้สร้างพระราหู เช่นกัน ๔.หลวงพ่อช้อย ท่านเป็นชาวลาวเช่นกัน แต่เนื่องจากท่านไม่ได้สนใจเรื่องวิชาอาคม สมัยท่านจึงไม่มีการแกะพระราหู เลย ๕.หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ท่านก็เป็นชาวลาว ในพื้นที่บ้านศีรษะทองเช่นกัน ส่วนวิชาคาถาอาคมนั้น ส่วนใหญ่ท่านได้รับการ ถ่ายทอดเล่าเรียนมาจากหลวงพ่อลี เจ้าอาวาสองค์ที่ ๒ และโยมบิดา ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ และมีตำรับตำรา คาถาอาคมการสร้างพระราหู จากกะลาแกะ หลวงพ่อน้อยท่านเป็นคนที่มีความสนใจมากทางด้านนี้ จึงศึกษาจนได้รับความรู้มาโดยละเอียดทั้งหมด จากหลวงพ่อลี และโยมบิดา เมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดแล้ว ท่านก็ได้เริ่มวางรากฐานรูปแบบและขั้นตอน ตลอดจนลวดลายการแกะกะลาพระราหู ให้เป็นมาตรฐาน โดยมีการพัฒนาเป็นขั้นตอน ตามตำราในใบลานต้นฉบับ การแกะกะลาพระราหู ที่หลวงพ่อไตรนำติดตัวมาจากประเทศลาว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น รูปแบบ หรือลาย จะแกะเป็นลายอย่างไรก็ตาม กะลาที่นำมาแกะพระราหู นั้นจำเป็นต้องเป็นกะลามะพร้าวที่มีเพียงตาเดียวเท่า นั้น อ่อน หรือแก่ ไม่เป็นอะไร พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง การพัฒนางานแกะ เห็นได้ว่าในยุคต้นๆ นั้น การแกะพระราหูไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน มีทั้งสี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม รูปกลม รูปกลีบบัว ก็มี สุดแล้วแต่ช่างจะแกะกัน แต่ในยุคหลวงพ่อน้อยก็มีบ้าง คือช่างชาวบ้านที่แกะกันเอง แล้วนำมาให้หลวงพ่อน้อยปลุกเสกให้ แต่ส่วนใหญ่กะลาแกะพระราหู ของหลวงพ่อน้อยนั้นจะมีศิลปะการแกะที่เป็นมาตรฐาน พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียวโดยใช้ช่างแกะไม่กี่กลุ่ม ซึ่งได้แก่ ๑.แกะโดยฝีมือช่างที่เป็นพระภายในวัด แรกๆ ก็แกะเป็นรูปสามเหลี่ยมบ้าง สี่เหลี่ยมบ้าง วงกลมบ้างเหมือนกัน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแบบเดียวกัน คือ แกะพระราหู เป็นรูปเสมาคว่ำ ๒.แกะโดยฝีมือช่างที่เป็นนักโทษ เรือนจำจังหวัดนครปฐม โดยหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ท่านมีลูกศิษย์ลูกหา เป็นผู้คุมเรือนจำ ในสมัยนั้นผู้คุมเรือนจำเป็นช่างฝีมือแกะหลายคน ซึ่งเป็นครูคอยสอนนักโทษด้วย แล้วให้นักโทษช่วยกันลองแกะพระราหู กันดูจากกะลาตาเดียว และได้ คัดอันที่สวยที่สุดมาเป็นตัวอย่าง ในครั้งนั้น คัดได้มีลักษณะรูปแบบพระราหู เป็นรูปเสมาคว่ำ และมีขนาดเล็ก กะทัดรัด สวยงาม และเหมาะสำหรับพกพาติดตัวด้วย รูปแบบการแกะนี้จึงได้รับความสนใจเรื่อยมา หลวงพ่อน้อยจึงอาศัยรูปแบบนี้เป็นมาตรฐานในการแกะสืบต่อกันมา อย่างไรก็ตามในยุคของหลวงพ่อน้อย พระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียวถือว่ามีการสร้างพระราหู จากกะลาตาเดียวมากที่สุด หลังจากหลวงพ่อน้อยมรณภาพแล้ว ลูกศิษย์ลูกหาของท่านทั้งที่เป็นพระและฆราวาส ก็มีการสร้างพระราหู เช่นกัน รูปแบบคล้ายกันบ้าง ต่างกันบ้าง เช่น อาจารย์ปิ่น ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศีรษะทอง รูปต่อมาจากหลวงพ่อน้อย และได้รับการถ่ายทอดวิชาปลุกเสกกะลาพระราหู จากหลวงพ่อน้อย ภายหลังได้สึกออกมา อาจารย์คล้าย ซึ่งเคยบวชเรียนอยู่กับหลวงพ่อน้อย แล้วภายหลังก็สึกออกมาเช่นกัน และ ลุงศรี คืออีกคนหนึ่งที่เป็นช่างแกะพระราหู ฝีมืออาชีพ พระราหู กะลาแกะของวัดศีรษะทอง นั้นมีหลายขนาด ทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ แกะจากกะลาครึ่งลูก หรือแกะจากกะลาทั้งลูกก็มี กะลาราหูของหลวงพ่อน้อยที่แกะเสร็จสมบูรณ์แล้ว ข้อสังเกตคือพระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว กะลาจะมีลักษณะบาง แบน แต่งตะไบ และมีน้ำหนักเบากว่ากะลาใหม่ที่มีขนาดเท่ากัน คือกะลาหลวงพ่อน้อยจะมีความแห้งสูงมาก ส่วนการทำปลอมเลียนแบบพระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว มีการทำกันมานานมากมายหลายฝีมือ แต่เชื่อว่าทุกฝีมือที่ทำปลอมยังต่างกันมากกับราหูที่สร้างจากหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง อันเป็นตัวจริง ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ งานแกะพิมพ์ วิธีการสร้างตกแต่ง ความแห้งผาก และธรรมชาติของอายุกะลา จึงเชื่อว่าการทำเลียนแบบปลอมนั้นทำได้ยากยิ่ง ด้านพุทธคุณ กะลาแกะราหูอมจันทร์ที่ออกมาจากสำนักวัดศีรษะทอง ไม่ว่าจะแกะมาจากช่าง หรืออาจารย์องค์ใด พุทธคุณไม่ต่างกัน เพราะคาถาที่ปลุกเสกนั้นมาจากคัมภีร์ใบลานของหลวงพ่อไตรองค์เดียวกัน ผู้ได้ใช้กะลาแกะจากพระราหู เชื่อกันว่า ช่วยป้องกันภัยต่างๆ เมื่อยามดวงชะตาตก กะลาพระราหู จะช่วยแก้ ช่วยพยุงให้ดวงชะตาดีขึ้นดังเดิม เรื่องคนชัง ให้กลับมารักชอบนั้นได้ผลแน่ รวมทั้งเรื่องเมตตา โภคทรัพย์ก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าอาจารย์ใดๆ เช่นกัน สำหรับค่านิยมในพระราหูอมจันทร์ กะลาตาเดียว หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง ตลาดพระเครื่อง พระราหู ถือเป็นเครื่องรางอย่างหนึ่งที่มีผู้แสวงหาค่อนข้างมาก ราคาทั่วไปอยู่ที่หลักหมื่นขึ้นไป อยู่ที่ตามสภาพขนาดลวดลายและเอกลักษณ์ต่างเป็นส่วนประกอบ |
|||||||||||||||
ราคา
|
สอบถาม | |||||||||||||||
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
|
087-4444894 | |||||||||||||||
ID LINE
|
0874444894 | |||||||||||||||
จำนวนการเข้าชม
|
46 ครั้ง | |||||||||||||||
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
|
ยังไม่ส่งข้อมูล
|
|||||||||||||||
|